วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต

วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต

ข้อมูลพื้นฐานวิทยาลัย

ประวัติวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต

วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต เป็นสถานศึกษาเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2483 โดยใช้ชื่อว่า ” โรงเรียนช่างตัดเสื้อภูเก็ต ” ตั้งอยู่ที่ บริเวณวัดพุทธมงคลนิมิตร ถนนเยาวราช ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สอนวิชาตัดเย็บเสื้อผ้าโดยเฉพาะ และดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน ดังความเป็นมา ดังนี้

พ.ศ. 2489 กรมอาชีวศึกษาได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ทั่วราชอาณาจักรและได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “โรงเรียนการช่างสตรี ภูเก็ต” หลักสูตร 2 ปี และได้เพิ่มวิชาการฝีมือ เย็บปักถักร้อย ดอกไม้สด ดอกไม้แห้ง และวิชาการด้วย
พ.ศ. 2496 ขยายหลักสูตรการช่างสตรี ชั้นมัธยมปลายเพิ่มเวลาเรียน 3 ปี กับ 5 ปี โดยเพิ่มภาควิชาการ คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย คำนวณ ศีลธรรม และพละ ภาควิชาชีพ คือ เย็บปักถักร้อย การครัว ดอกไม้ ละวิชาเลือก
พ.ศ. 2498 ได้งบประมาณจากกรมอาชีวศึกษาให้สร้างอาคารเรียน 1 หลัง เป็นเงิน 600,000 บาท ทำการปลูกสร้างติดกับวัดพุทธมงคลนิมิตร
พ.ศ. 2499 ทางโรงเรียนได้รับนักเรียนประจำ (กินนอน) นักเรียนประจำส่วนใหญ่มาจากจังหวัดใกล้เคียง ในปีแรกมีนักเรียนประจำเพียง 5 คน ปีที่สอง 15 คน และค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นลำดับ โรงเรียนมิได้มีงบประมาณสร้างหอพักจึงต้องอาศัยอาคารเรียน เป็นหอพักนักเรียนประจำ
พ.ศ. 2502 ทางโรงเรียนได้รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และรับเฉพาะนักเรียนที่สำเร็จ การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ป.7 เข้าเรียนในอาชีวศึกษา ชั้นต้นปีที่ 1)
พ.ศ. 2503 ขยายหลักสูตรการศึกษาเป็นอาชีวศึกษาชั้นสูงหลักสูตร 3 ปี โดยรับ นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นต้น ปี 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ (มศ. 3)
พ.ศ.2505 ทางโรงเรียนได้งดรับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ป.7 ) เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อาชีวศึกษาชั้นต้นปีที่ 1
พ.ศ.2506 ทางโรงเรียนได้เปลี่ยนจากอาชีวะชั้นสูงเป็นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีนี้จำนวนครูและนักเรียนได้เพิ่มขึ้น ทางโรงเรียนได้งบประมาณจากกรม อาชีวศึกษาให้สร้างบ้านพักครู เป็นเงิน 400,000 บาท และในปีนี้เอง โรงเรียนได้เข้าอยู่ในโครงการยูนิเซฟ
พ.ศ. 2507 มีการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาใหม่เป็นแบบวิชาเอกและวิชารอง โดยวิชาเอกมีผ้าและการตัดเย็บ อาหารและโภชนาการ หัตถกรรม และวิชารองมีเสริมสวย พิมพ์ดีด ศิลปะไทย เป็นต้น เมื่อโรงเรียนอยู่ ในโครงการยูนิเซฟก็ได้รับการสนับสนุนด้านอุปกรณ์การเรียนการสอนมากขึ้นทำให้โรงเรียนเจริญขึ้น อย่างรวดเร็ว
พ.ศ. 2514 โรงเรียนได้เปิดสอนวิชาประเภทพาณิชยกรรมขึ้นอีกประเภทหนึ่ง
พ.ศ. 2516 ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนการช่างสตรีภูเก็ตมาเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาภูเก็ต
พ.ศ. 2519 ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนอาชีวศึกษาภูเก็ตมาเป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต โดยรวมกับ โรงเรียนเทคนิคภูเก็ต
พ.ศ. 2520 กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาบัญชี สาขาผ้าและเครื่องแต่งกาย และสาขาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป
พ.ศ. 2521 กรมอาชีวศึกษาได้แยกวิทยาลัยออกเป็น 2 แห่ง คือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ตและวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต ในปีนี้วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ตได้ย้ายมาอยู่ที่บริเวณสะพานหินใกล้สถานีวิทยุ สทร.3 (จนปัจจุบัน)
พ.ศ. 2524 กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ เทคนิค (ปวท.) สาขาธุรกิจโรงแรม
พ.ศ. 2527 กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง (ปวส.) สาขาธุรกิจ การค้าต่างประเทศ สาขาอาหารและโภชนาการและหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกศิลปะประยุกต์
พ.ศ. 2528 กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) สาขาการบัญชี
พ.ศ. 2530 กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว
พ.ศ. 2531 กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว
พ.ศ. 2532 กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการหลักสูตรระยะสั้นวิชาการ โรงแรมและ การท่องเที่ยว 6 เดือน โดยความร่วมมือระหว่างสถาบัน ฝึกอบรมการโรงแรมและการท่องเที่ยวบางแสน ชลบุรี กับวิทยาลัยซึ่งในรุ่นแรกได้เปิดอบรมในสาขาวิชาการโรงแรม 2 แผนก คือ แผนกแม่บ้านและ แผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม รับผู้เข้าอบรมแผนกละ 40 คน
พ.ศ. 2533

กรมอาชีวศึกษาร่วมกับสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตดำเนินโครงการฝึกอบรมบุคลากร
ด้านธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต  โดยเปิดอบรมวิชาการโรงแรม  2  แผนก  คือ  แผนกแม่บ้าน
และแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม  และจัดตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูวิทยาลัย  อาชีวศึกษา
ภูเก็ตดำเนินการโดยนายสิทธิ  ตัณฑวณิช นายอรัญ จินดาพล  นายอุทัย  สุขศิริสัมพันธ์  และ

นายสมศักดิ์  ทรัพย์สุนทรกุล

พ.ศ. 2535 กรมอาชีวศึกษาอนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตร ปวส. แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และแผนกอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว
พ.ศ. 2536 ได้รับงบประมาณจากกรมอาชีวศึกษา ให้สร้างอาคารเรียน 1 หลัง (อาคาร 5) งบประมาณ 7,872,000 บาท และเงินบำรุงการศึกษา 2,628,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,500,000 บาท
พ.ศ. 2537 ได้รับงบประมาณก่อสร้างแฟลต 14 ยูนิต บริเวณที่ราชพัสดุ ถนนรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นเงินงบประมาณ 5,621,150 บาท
พ.ศ. 2538 กรมอาชีวศึกษาอนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตร ปวช. ระบบทวิภาคี คหกรรม (การโรงแรม) โดยฝึกปฏิบัติอาชีพในสถานประกอบการธุรกิจโรงแรม 5 แห่ง
พ.ศ. 2539 เปลี่ยนหลักสูตรระดับ ปวท. แผนกบัญชี และแผนกธุรกิจโรงแรมเป็นหลักสูตร ระดับ ปวส. และเปิดรับนักศึกษาระดับ ปวส. แผนกการตลาดเพิ่มขึ้นอีก 1 ห้องเรียน
พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณก่อสร้าง สร้างอาคารเรียน 1 หลัง งบผูกพัน 3 ปี (พ.ศ.2540-2542) งบประมาณ 24,780,000 บาท และเปิดสอนหลักสูตร ปวส. ภาคสมทบ 5 ภาคเรียน แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
พ.ศ. 2541 กรมอาชีวศึกษาอนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตร ปวส. แผนกเลขานุการ และหลักสูตร ปวส. ระบบทวิภาคี แผนกการโรงแรม
พ.ศ. 2542 กรมอาชีวศึกษาอนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตร ปวส. ระบบทวิภาคี สาขาวิชาเลขานุการ สาขาวิชา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จัดตั้งห้องศูนย์เทคโนโลยีชุมชนและติดตั้งคอมพิวเตอร์ 20 เครื่อง โดยรับการจัดสรรงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวน 1,640,738.- บาท และรับการ สนับสนุนจาก คุณจุรี จั่นอัศวสุข ในการปรับปรุงห้องจำนวน 100,000 บาท
พ.ศ. 2543 ได้รับเลือกเป็นสถานศึกษาต้นแบบด้านคุณภาพฝีมืออาชีพ กระทรวงศึกษาธิการ สร้างศูนย์เทคโนโลยี กิจกรรมนักศึกษาชั้นเดียว 1 หลัง เป็นเงิน 650,000 บาท ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนและสหการ วิทยาลัย ติดตั้งคอมพิวเตอร์เพิ่ม จำนวน 20 เครื่อง เป็นเงิน 1,243,019 บาท ในศูนย์เทคโนโลยีชุมชน 1,550,000 บาท โดยรับการจัดสรรงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ.ศ. 2544 พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองจำนวน 307,423 บาท
พ.ศ. 2545 พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองจำนวน 1,318,000 บาท โดยรับการจัดสรรงบประมาณ จากองค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ.ศ. 2547 วิทยาลัยได้รับรางวัล สถานศึกษารางวัลพระราชทาน
พ.ศ. 2548 วิทยาลัยได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบ Super Model
พ.ศ. 2551 วิทยาลัยได้รับรางวัล สถานศึกษารางวัลพระราชทาน (ครั้งที่ 3)
พ.ศ. 2552 วิทยาลัยได้รับรางวัล สถานศึกษารางวัลพระราชทาน (ครั้งที่ 4)
พ.ศ. 2553 วิทยาลัยได้รับรางวัล สถานศึกษารางวัลพระราชทาน (ครั้งที่ 5)
พ.ศ. 2554 นักศึกษาได้รับรางวัล นักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับปวช. และ ปวส.
– นายนพพงศ์ เพ็ชรพวง ปวส.2 แผนกการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว
– นายจิโรจ จันทร์เส้ง ปวช.3 แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
พ.ศ. 2555 วิทยาลัยได้รับรางวัล “สถานศึกษาดีเด่น ด้านคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีการศึกษา 2555 ของธนาคารออมสิน ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา”
นักศึกษาได้รับรางวัล นักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับปวช. และ ปวส.
– นายเนติพงษ์ ทองทิพย์ ปวช. แผนกวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว
– นายสุวรรณ คนเรียน ปวส. แผนกวิชาอาหารและโภชนาการ
พ.ศ. 2556 วิทยาลัยได้รับรางวัล นักศึกษาดีเด่นด้านคุณธรรม จริยธรรม ปีการศึกษา 2556 ของธนาคารออมสิน ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา”
– นายภัทรา เลียงประสิทธิ์ ปวช. แผนกวิชาอาหารและโภชนาการ
นักศึกษาได้รับรางวัล นักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับปวช. และ ปวส.
– นายภัทรา เลียงประสิทธิ์ ปวช. แผนกวิชาอาหารและโภชนาการ
– นายณัฐพงษ์ นาเครือ ปวส. แผนกวิชาการบริหารงานคหกรรม
พ.ศ. 2557 นักศึกษาได้รับรางวัล นักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับปวช. และ ปวส.
– นายบุญฤทธิ์ ป่วนฉิมพลี ระดับ ปวช.
– นายไตรภพ ธรรมกุล ระดับ ปวส.
พ.ศ. 2558 นักศึกษาได้รับรางวัล นักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับปวช. และ ปวส.
– นายวีระยุทธ ศิริสวัสดิ์ ระดับ ปวช. 3/1 แผนกวิชาการโรงแรม
– นายจิตริน ประสมวงศ์ ระดับ ปวส.2 แผนกวิชาคหกรรมเพื่อการโรงแรม
พ.ศ. 2559 วิทยาลัยได้รับรางวัล “รางวัลสถานศึกษาที่มีผลการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ ระดับชาติ 5 ดาว”
วิทยาลัยได้รับรางวัล “รางวัลชนะเลิศ ห้องเรียนรู้เทคโนโลยีเฉพาะทางอาชีวศึกษา ระดับชาติ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว แผนกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
นักศึกษาได้รับรางวัล นักศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับปวช.
– นายอภิสิทธิ์ ทองขำ
พ.ศ. 2560 วิทยาลัยได้รับรางวัล “รางวัลชนะเลิศ องค์การมาตรฐาน ดีเด่น สถานศึกษาขนาดใหญ่ ระดับชาติ”
วิทยาลัยได้รับรางวัล “รางวัลผลการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาในสถานศึกษา ระดับ 5 ดาว”
วิทยาลัยได้รับรางวัล “รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 คะแนนรวมประเภทวิชาชีพพาณิชกรรม คหกรรม ศิลปกรรม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับชาติ”
วิทยาลัยได้รับรางวัล “รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 คะแนนรวมการแข่งขันทักษะวิชาชีพ ระดับชาติ”
นักศึกษาได้รับรางวัล “รองชนะเลิศอันดับ 1 สมาชิกดีเด่นโครงการภายใต้การนิเทศระดับชาติ”
– นายธีรพงษ์ เตาะกระโทก นักศึกษาระดับ ปวส.แผนกวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว
พ.ศ. 2561  วิทยาลัยได้รับรางวัล “ผลการดำเนินงานของปีการศึกษา2560 เข้ารับการประเมิน ปีการศึกษา 2561 ได้รับรางวัลสถานศึกษาที่มีผลการประเมินศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาในสถานศึกษาระดับชาติ 4 ดาว”
นักศึกษาได้รับการคัดเลือกเป็นเด็กและเยาวชนดีเด่นจากกระทรวงศึกษาธิการ
– นายชนกันต์ สมบูรณ์นักศึกษาระดับปวช.แผนกวิชาการตลาด
พ.ศ. 2562 วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ได้มีการเปิดสาขาเพิ่มเติมในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 2 สาขา
– สาขาธุรกิจการบิน – สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักศึกษาได้รับรางวัลพระราชทาน ในระดับ ปวช. และ ปวส.
– นายพุทธิพงศ์  ประทีป ณ ถลาง ระดับปวช.3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
– นายสหัสวรรษ  รัตนพงษ์ ระดับปวส.2 สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว
พ.ศ. 2563 วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ไดšรับรางวลัสถานศกึษารางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2563
นักศึกษารางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2563
– นายสรวิชญŤ จันทรŤสุขศรี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาการบัญชี
พ.ศ. 2564

นักศึกษารางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2564

                    – นางสาวศิริพักตร์  ส่งเมือง นักศึกษาระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาการจัดการสำนักงาน

พ.ศ. 2565

นักศึกษารางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2565

                   – นายนิรุจน์  รอแม นักศึกษาระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาการโรงแรม

                   – นางสาวฐานิดา  รัตนาถ นักศึกษาระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ